วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 3 การสืบคนข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

เนื้อหาสาระ (Content)
   
    การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถสืบค้นและศึกษาได้อย่างไร้ขีดจำกัด ผู้ที่มีข้อมูลหรือความรุ้มากมายย่อมเป็นผู้ที่ถือว่ามีความได้เปรียบในทางธุรกิจต่างๆ และส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ในที่สุด


3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
   
   3.1.1 ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

        ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัว ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหม จึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced Research Projects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA 

        ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา (Cooperative network of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อว่า ARPANET จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANET ได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่ง เข้าด้วยกัน 

        ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANET ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ถึง ๒๓ เครื่อง 

        จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคน เริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้ 

         แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้าง เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโปรโตคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โปรโตคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการ ARPANET ได้นำโปรโตคอล TCP/IP ไปใช้ 

         การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัย และพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆ เข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) 

        ต่อมาการบริหาร และดำเนินงานเครือข่าย ได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่า NSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลาง ที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการ จนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก



3.1.2 ความสามารถของอินเตอร์เน็ต

     -การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น 
     -ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , 
     -สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, 
     -การติดตามข่าวสาร, 
     -การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, 
     -การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ ,
     -การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ,
     -การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์,
     -การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์,
     -การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning),
     -การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference),
     -โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP),


         การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้าง ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น  และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก


3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์

        เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น


3.2.1 การเข้าเว็บไซต์
        เริ่มจากรู้จักเวิลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW.) หมายถึง การบริการข้อมูลที่เชื่อมต่อด้วยไฮเปอร์ลิงค์ โดยมีโฮต์ที่ทำหน้าที่บริการข้อมูล ในลักษณะหน้ากระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่าเว็บเพจ (Web Page) เปรียบเสมือนหน้าหนังสือ ซึ่งสามารถบรรจุข้อความ รูปภาพ และเสียงไว้ด้วย หน้าแรกของเว็บเพจ เรียกว่า โฮมเพจ (Home Pege)
        เมื่อนำเอาเว็บหลายๆหน้ามารวมกันไว้แหล่งเดียวกัน เรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site ) เว็บไซต์จะถูกเก็บไว้ ในเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ใดๆต้องติดต่อผ่านไปยังเว็บเซิร์ฟเวฺอร์นั้นๆ ซึ่งที่อยู่นี้เรียกเป็นภาษาอินเตอร์เน็ตว่า URL (Uniforn Resource locater :URL)
ซึ่งแต่ละURLจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน



3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบบเว็บ

        สารบบเว็บส่วนมากมีขอบเขตที่ไม่เฉพาะเจาะจง และแสดงรายการเว็บไซต์ข้ามหมวดหมู่ ภูมิภาค และภาษาอย่างกว้างขวาง แต่ก็มีสารบบเว็บจำนวนมากที่สงวนไว้สำหรับภูมิภาคจำกัด ภาษาเดียว หรือส่วนของผู้ชำนาญเฉพาะทาง เป็นต้น ประเภทหนึ่งในจำนวนนี้ที่มีอยู่จริงเช่น สารบบการเลือกซื้อ (shopping directory) จะรวบรวมเว็บไซต์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สารบบเว็บแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเช่น Open Directory Project (ODP) ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากการแบ่งหมวดหมู่ที่สามารถขยายเพิ่มเติมไปได้เรื่อยๆ มีรายการเว็บไซต์จำนวนมาก และเป็นเนื้อหาเสรีที่สามารถนำไปใช้โดยเสิร์ชเอนจินและสารบบเว็บอื่นๆ[1]

       อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงเกี่ยวกับคุณภาพของสารบบและฐานข้อมูลก็ยังคงดำเนินอยู่ ดังเช่นในเสิร์ชเอนจินที่ใช้เนื้อหาของ ODP โดยไม่มีการรวมเข้ากับสิ่งที่เป็นจริง และการทดลองบางอย่างที่ใช้การกระจายข้อมูล (data clustering) มีความพยายามหลายอย่างเรื่อยมาที่จะทำให้การพัฒนาสารบบสามารถทำได้ง่ายขึ้น อาทิการส่งข้อมูลเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องถึงกันโดยอัตโนมัติด้วยสคริปต์หรือโปรแกรม เมื่อไม่นานมานี้ซอฟต์แวร์ทางสังคม (social software) ได้ใช้เทคนิคใหม่โดยการใช้แท็ก (tag) เข้ามาช่วยในการจัดแบ่งหมวดหมู่

        สารบนเว็บมีคุณลักษณะของการแสดงรายการที่แตกต่างกันไป ซึ่งมักขึ้นอยู่กับการจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คุณลักษณะใหม่ ตัวอย่างเช่น

  • รายการแบบฟรี – คุณลักษณะนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับการเรียกดูรายชื่อเว็บไซต์
  • รายการแบบจ่าย – อาจเป็นค่าธรรมเนียมจ่ายครั้งเดียวหรือจ่ายเพื่อต่ออายุ สำหรับการเรียกดูรายชื่อเว็บไซต์
  • ลิงก์เชื่อมโยงกลับ – เป็นลิงก์ที่กลับมายังสารบบเว็บสำหรับเพิ่มลงในเนื้อหาเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์นั้นมีตัวตนอยู่ในสารบบและสามารถเก็บสถิติได้
  • ไม่อนุญาตให้ตามลิงก์ – คุณลักษณะนี้เป็นตัวบ่งบอกเสิร์ชเอนจินว่าไม่ให้วิ่งตามลิงก์ออกไปเว็บไซต์อื่น โดยการใส่คุณสมบัติ rel="nofollow" เป็นต้น
  • รายการผู้สนับสนุน – ลิงก์ของเว็บไซต์จะอยู่ในตำแหน่งพิเศษในหมวดหมู่ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่าตำแหน่งปกติ
  • การประมูลตำแหน่ง – การแสดงรายชื่อในตำแหน่งพิเศษจะต้องประมูลเพื่อให้ได้มา
  • ลิงก์ในเครือ – สารบบเว็บจะเป็นผู้จ่ายค่าคอมมิชชันให้ผู้ที่สามารถดึงลูกค้าเข้ามาสมัครกับเว็บไซต์ที่ลงทะเบียนไว้


3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น
เครื่องมือช่วยค้นข้อมูลในอินเทอเน็ต

        เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine)
Search  Engine คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ดังกล่าวจะมีโปรแกรมชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยในการ
ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  การทำงานของSearch Engineนั้นจะเริ่มจากการหาเว็บไซต์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตว่ามีเว็บไซต์
์อะไรแล้วสร้างเป็นฐานข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆขึ้นมาเก็บไว้เพื่อใช้ในการค้นหาตามความต้องการของผู้ใช้ ฐานข้อมูล
เหล่านี้จะต้องมีการปรับปรุงบ่อยๆเพราะมีเว็บไซต์เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานอกจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์
์์ของตนเองแล้ว  Search  Engine  ยังอาจจะใช้วิธีการค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search  Engine ตัวอื่นๆแล้วนำมา
บริการก็ได้  ในการสร้างฐานข้อมูลของ  Search  Engine นั้นจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า  สไปเดอร์ (Spider)หรือโรบอต(Robot)ทำการสำรวจไปยังเว็บไซต์ต่างๆทั่วอินเทอร์เน็ตแล้วนำข้อมูลของเว็บไซต์นั้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเองเมื่อผู้ใช้ป้อน
Keyword ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าไป Search  Engine ก็จะนำไปค้นหาในฐานข้อมูลที่มีอยู่  ผลที่ได้จาก การค้นหาก็คือรายการของเว็บไซต์ที่มี Keyword ดังกล่าวอยู่
        SearchEngine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกันตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆในการสืบค้น
เพื่อช่วยผู้ใช้  และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
1. วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือAbout  เช่น Yahoo 
  
      มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ ดังนี้

   1.1 ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น1.2 ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏคำทั้งสองคำ
เช่น Secondary + education1.3 ใช้เครื่องหมาย  “    ”  สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น  “great barrier reaf”   ฯลฯ
   
   2.การใช้ตรรกบูลีน  (Boolean Logic)เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ  AND  OR  NOT เข้าช่วยในการกำหนดคำค้นเพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
การใช้ ANDการกำหนดใช้ AND
จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soilการกำหนดแบบนี้หมายความว่าผลการค้นต้องการคือเฉพาะรายการที่มีคำว่า water และ soil เท่านั้นหากรายการใดที่มีแต่คำว่า  water  หรือ soil ไม่ต้องการการใช้คำว่า ORการใช้ OR เป็นการขยายคำค้นโดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกันหรือสามารถสะกดได้หลายแบบ

การใช้ NOTการใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามาคือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหาส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่  โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่นwater not soilการกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
1. ให้ค้นหารายการที่มีคำว่า water แต่หากรายการใดมีคำว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ
2. ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคำว่า water และหากมีคำว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ



3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งไทยและต่างประเทศ
เว็บไซต์ที่ให้บริการ  Search Engine
    
     Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในserver ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ
     เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ
ไม่ เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง
     ตัวอย่าง เว็บไซต์ของไทยและต่างประเทศ ได้แก่ 


website ภาษาไทย

http://www.thaifind.com/
http://www.thaiseek.com/
http://www.thaiall.com/
http://www.thainame.net/main.html
http://www.sanook.com/
http://www.google.com/
http://www.aromdee.com/




รูปที่ 3.2ตัวอย่างเว็บไซต์www.thaiall.com



รูปที่ 3.3ตัวอย่างเว็บไซต์www.siamGuru.com




website ภาษาอังกฤษ
http://www.ixquick.com/
http://www.yahoo.com%20/
http://www.lycos.com/
http://www.netfind2.aol.com/
http://www.excite.com/
http://www.altavista.com/
http://www.freestation.com/

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

รูปที่ 3.4ตัวอย่างเว็บไซต์www.excite.com


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ www.yahoo.com

รูปที่ 3.5ตัวอย่างเว็บไซต์www.yahoo.com



   รูปที่ 3.6ตัวอย่างเว็บไซต์www.altavata.com




รูปที่ 3.7ตัวอย่างเว็บไซต์www.lycos.com




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน่วยที่ 12 การแก้ไข ตกแต่ง และการฉายสไลด์จากโปรแกรมการนำเสนอผลงาน

ในการสร้างงานนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft Powerpoint นอกจากการป้อนข้อมูล รูปภาพ กราฟ หรือข้อมูลใดๆ ลงบนสไลด์แล้ว ยังสามารถแก้ไข ตกแต่ง เปลี่ย...